5 ทริควางแผนการเงิน ฉบับร้านอาหาร ต้อนรับมาตรการการเปิดประเทศ
เรียกได้ว่า 2 ปีที่ผ่านมา เป็นปีที่ยากลำบากสำหรับใครหลาย ๆ คน โดยเฉพาะผู้ประกอบการฝั่งการท่องเที่ยวและร้านอาหารที่ถูกปิดตัวลงจากพิษเศรษฐกิจที่ซบเซา เนื่องจากล็อกดาวน์มานาน บวกกับการมีมาตรการปิดประเทศ นักท่องเที่ยวไม่สามารถเดินทางเข้ามาได้
แต่ ณ เวลานี้ทางรัฐบาลได้มีมาตรการคลายล็อกดาวน์ และ มีการเปิดประเทศเป็นที่เรียบร้อย ทำให้ผู้ประกอบการทั้งเล็กและใหญ่ได้ยิ้มออกกันได้บ้างครับ หลาย ๆ คนคงจะได้รับบทเรียนจากล็อกดาวน์คราวที่แล้ว หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ไม่ควรละเลยนั่นก็คือ การวางแผนการเงินให้เป็นระบบมากที่สุด รวมไปถึงการศึกษาความเคลื่อนไหวของกระแสเงินอยู่เสมอ ผมได้รวบรวมไว้ 5 ทริกด้วยกัน จะมีอะไรบ้างไปดูกันเลยครับ
Photo : https://www.shutterstock.com/th/image-photo/closeup-young-woman-calculating-accounting-budget-1545123521
Visual Guide : ภาพผู้หญิงเจ้าของร้านกำลังนั่งทำรายรับรายจาย สรุปยอดบิลในแต่ละวัน บนโต๊ะมีโทรศัพท์ คอม เครื่องคิดเลข และบิลต่าง ๆ
1. วางแผนรายรับและรายจ่ายที่ได้ต่อวัน
บางร้านที่ขายดี แต่พอถึงสิ้นเดือน ขาดทุนทุกที? แบบนี้เป็นเพราะอะไรนะ บางครั้งการที่ร้านไม่ได้กำไรตามที่ควรจะได้ มักจะเกิดจากทางร้านไม่มีการทำรายรับ - รายจ่ายหรือวางแผนการเงินอย่างเป็นระบบมากพอ เพราะการทำรายรับรายจ่าย จะสามารถแจกแจงได้ว่า เงินแต่ละส่วนถูกจ่ายมาจากกระเป๋าส่วนตัว หรือ จากเงินจากแคชเชียร์
จากนั้น เรามารวบรวมรายได้ทั้งหมดที่ได้ ไม่ว่าจะเป็น ทางออนไลน์ (Delivery), ออฟไลน์ (หน้าร้าน) หรือ 3rd Party โดยอย่าลืมรวบรวมหลักฐานการเงินให้ครบถ้วน เช่น ใบเสร็จ หรือ บิลต่าง ๆ
สำหรับรายจ่าย ให้คิดเหมือนรายได้เลยว่าทุกวันนี้เรามีรายจ่ายอะไรบ้าง และหาเอกสารหลักฐานมาบันทึกให้ครบไม่ว่าจะจ่ายแบบโอนหรือเงินสด
หลังจากที่รวบรวมข้อมูลการเงินแล้ว เรามาลองนั่งวางแผนกันครับว่า ในอาทิตย์ที่ผ่านมากิจการของร้านเป็นอย่างไรบ้าง เดือนที่แล้วเรามียอดขายเท่าไหร่ แล้วเดือนนี้สถานการณ์จะมีแนวโน้มไปในทิศทางไหน ข้อมูลเหล่านี้คือข้อมูลส่วนสำคัญที่เจ้าของร้านอาหาร ‘ต้องรู้’ เพื่อนำมาปรับกลยุทธ์การขายและวางแผนการเงินให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. อย่าลืมให้ความสำคัญกับโปรโมชัน เพื่อตอบโจทย์ปัญหา
บางคนอาจมีความคิดที่ว่า การทำโปรโมชันจะทำให้ร้านขาดทุนรึเปล่า? ขอตอบเลยว่า ไม่เสมอไปครับ เผลอ ๆ อาจจะสามารถทำให้มีลูกค้าเข้าร้านได้ดีกว่าเก่าด้วยซ้ำ
การทำโปรโมชันที่ดีจะสามารถตอบโจทย์ปัญหาของเรา และ ปัญหาของลูกค้าในเวลาเดียวกัน เช่นถ้าช่วงกลางวันร้านเงียบมาก แต่รายจ่ายของเราทั้งค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าเช่า ยังคงเดินตลอด ดังนั้นเราควรคิดโปรโมชันเพื่อทำให้เกิดรายได้ในช่วงเวลานั้น กำไรอาจจะได้น้อย แต่จุดประสงค์เพื่อไม่ให้เกิดช่องว่างของรายได้ในเวลานั้นนั่นเอง
อีกหนึ่งทางเลือกในการทำโปรโมชัน แต่ไม่อยากลดราคาตรง ๆ เราสามารถจัดเซ็ทขายดี เช่น การนำสินค้าสองอย่างมาขายคู่กัน จัดเป็นเซ็ทคู่ใจ อย่าง คนซื้อขนมชิ้นนี้ มักจะซื้อน้ำขวดนี้ด้วย เป็นการจัดโปรโมชันที่น่าสนใจอีกทาง เป็นสิ่งที่เลือกมาแล้ว ทำให้ลูกค้าหลาย ๆ ท่านตัดสินใจซื้อง่ายขึ้น โดยเฉพาะลูกค้าใหม่นั่นเอง
https://www.shutterstock.com/th/image-photo/flat-lay-paper-shopping-bag-assortment-1998991394
3. อัปเดตต้นทุนวัตถุดิบเป็นประจำ
ต่อจากข้อที่แล้ว หลังจากที่เราวางแผนการเงินและสถานการณ์ภายในร้าน อีกสิ่งที่เราห้ามมองข้ามเลยก็คือการประเมินยอดขายในแต่ละวัน รวมไปถึง ในแต่ละวันมีเมนูใดบ้างที่ขายดี
เจ้าของร้านอาหารมักจะรู้กันดีว่า ราคาวัตถุดิบมีการปรับขึ้นและลงอยู่เป็นประจำ ดังนั้นเราต้องคอยเช็กราคาวัตถุดิบทุกสัปดาห์ เพื่อให้รู้ความเคลื่อนใหวของต้นทุน จะทำให้เราวางแผนรับมือได้ทัน
ยกตัวอย่างเช่น วัตถุดิบตัวไหนต้นทุนขึ้นไปสูง ถ้าไม่ได้อยู่ในรายการเมนูขายดีก็ควรจะลดจำนวนลง, ตัดออกไปก่อน หรือ เราสามารถหาวัตถุดิบใกล้เคียงได้หรือไม่ ถ้าอยู่ในเมนูขายดีและมีแนวโน้มที่ต้นทุนจะขึ้นไม่ยอมลง จะได้เตรียมปรับราคาเมนู หรือ ออกเมนูใหม่เพื่อดันราคานั่นเองครับ
4. รวบรวมเอกสาร/บิลใบเสร็จ/ Statement ไว้ด้วยกัน
ขั้นตอนเกือบสุดท้ายนั่นก็คือการรวบรวมเอกสารทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น บิลใบเสร็จ หรือ Statement รวมไปถึงรายรับรายจ่ายทุกอย่างที่เกิดขึ้นในร้านให้เป็นหมวดหมู่โดยแยกตามเดือน เดี๋ยวนี้เทคโนโลยีได้เข้ามาเป็นตัวช่วยที่ทำให้การจัดการอะไร ๆ ก็ง่ายและทั่วถึงขึ้น
ผมขอแนะนำผู้ช่วยดี ๆ จาก dtac business ที่จะรวบรวมบิลใบเสร็จ และ Statement การเงินต่าง ๆ ไว้บนโลกออนไลน์ ด้วยแพ็กเกจ WorryFree Plus Pro แพ็กเกจที่เราสามารถโทรฟรีทุกเครือข่าย, เล่นเน็ตเต็มสปีดแบบไม่อั้น และ ใช้ Google Workspace ได้ฟรี ๆ ไม่ต้องจ่ายบิลแยกให้วุ่นวาย อัปเดตเอกสารได้แบบเรียลไทม์บนโลกออนไลน์ ไม่จำเป็นต้องส่งไฟล์หลาย ๆ ครั้ง สามารถทำงานพร้อมกันได้หลายคน และที่สำคัญ ยังปลอดภัย ไม่ต้องกลัวไฟล์หาย มาพร้อมกับเน็ตเต็มสปีด จะใช้งานเยอะแค่ไหนก็ไม่มีแผ่ว ครอบคลุมทุกการใช้งาน แถมยังไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม เริ่มต้นเพียง 499.-/เดือน
เป็นอีกหนึ่งโซลูชันเพื่อตอบโจทย์ความสะดวกสบายและแก้ปัญหาการตกหล่นของข้อมูล รวมไปถึงความเป็นระเบียบที่มากขึ้น ซึ่งการทำแบบนี้จะทำให้ทั้งเจ้าของร้านอาหารและนักบัญชีที่จะเอาไปวางแผนการเงินต่อ หยิบจับเอาไปใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้น รวมไปถึงข้อมูลเหล่านี้สามารถเช็กความเคลื่อนไหวของวัตถุดิบในสต็อกร้านได้อีกด้วยครับ
Photo : https://www.shutterstock.com/th/image-photo/hands-holding-saving-account-passbook-book-618347252
Visual Guide : ภาพเจ้าของร้านกำลังเช็กเงินในบัญชี สื่อถึงการวางแผนเงินเย็นหมุนเวียนในร้าน หรือเงินฉุกเฉิน
5. ติดตามกระแสเงินสดอย่าให้คลาดสายตา
มาถึงข้อสุดท้าย แต่ก็ใช่ว่าจะสำคัญน้อยสุดนะครับ เพราะร้านอาหารหลาย ๆ ร้านสามารถล้มได้ถ้าละเลยการติดตามกระแสเงินสด การทำร้านอาหารไม่ว่าจะขนาดใหญ่หรือเล็ก ควรเตรียมเงินทุนสำรองสำหรับหมุนเวียนในกิจการอย่างน้อย 6 เดือน
หมายความว่าใน 6 เดือนนี้ต่อให้ร้านของเราขาดทุนทุกเดือน แต่เราจะยังคงมีเงินทุนหมุนเวียนซื้อของ จ่ายค่าจ้างและค่าเช่าได้ตามปกติ ถ้าเป็นไปได้ให้เลี่ยงการใช้เงินร้อน และ หมั่นดูตัวเลขรายวันเพื่อที่เราจะได้ปรับตัวและวางแผนการเงินได้ทันนั่นเองครับ
ท้ายนี้ผมขอทำสรุปสั้น ๆ ทั้ง 5 ทริค เป็นการทบทวนกันอีกครั้งนะครับ หากทำตามนี้รับรองได้เลยครับว่า จะล็อกดาวน์อีกกี่ครั้ง dtac business ก็เชื่อว่าร้านอาหารของคุณยังไงก็ไปต่อได้อย่างแน่นอน อย่าลืมนำทริกการวางแผนการเงินไปปรับใช้กันนะครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก :
https://www.foodstory.co/blog/restaurant-ep3
https://www.เพื่อนแท้ร้านอาหาร.com/restaurant-management-2/
https://www.facebook.com/221718215091765/posts/978907216039524/?d=n