ยุคนี้อะไร ๆ ก็ขับเคลื่อนด้วยคลาวด์ (Cloud) และระบบออนไลน์ ไม่เว้นแม่แต่ Google ที่มี Google...
8 เช็กลิสต์ระบบรักษาความปลอดภัยเมื่อใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือ
ต้องยอมรับว่าทั้งผู้ประกอบการในธุรกิจ SME หรือพนักงานในองค์กรต่างๆ ย่อมมีความจำเป็นที่ต้องใช้โทรศัพท์มือถือและเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการติดต่อประสานงานกับลูกค้า คู่ค้า หรือว่าเพื่อนร่วมงาน ทำให้ในแต่ละวันมีข้อมูลสำคัญมากมายถูกบันทึกไว้ในเครื่องมือสื่อสารเหล่านั้น จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่ผู้ประกอบการซึ่งไม่มีแผนก IT (Information Technology) เป็นของตนเอง จะรู้สึกกังวลทุกครั้งที่ต้องทำธุรกรรมหรือกิจกรรมต่างๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพราะเกรงว่าอาจจะมีคนใช้งานไม่ถูกวิธี ทำให้มีข้อมูลที่สำคัญรั่วไหล และอาจจะตกเป็นเหยื่อของการโจรกรรมข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต หรือเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพโดยไม่รู้ตัว เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการอุ่นใจมากขึ้น เรามี 8 เช็กลิสต์วิธีและระบบรักษาความปลอดภัย เมื่อใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือที่สามารถทำได้ด้วยตนเองมาแนะนำกัน
1. ล็อกโทรศัพท์ด้วยรหัสหรือลายนิ้วมือเมื่อไม่ใช้งาน
หนึ่งในระบบรักษาความปลอดภัยเบื้องต้นที่ไม่ควรมองข้าม คือการตั้งค่าล็อกโทรศัพท์มือถือเมื่อใช้อินเทอร์เน็ตเสร็จ หรือว่าไม่ได้ใช้งานมือถือแล้ว เพื่อเป็นการป้องกันผู้ไม่หวังดีเปิดใช้งานโทรศัพท์มือถือ หรือเข้าถึงข้อมูลสำคัญที่อยู่ในมือถือได้ โดยสามารถทำได้ทั้งในรูปแบบของการใส่รหัสผ่าน ตั้งค่าลายนิ้วมือ รวมถึงการสแกนม่านตา ซึ่งขึ้นอยู่กับฟังก์ชันของมือถือแต่ละรุ่น และควรเปิดระบบล็อกหน้าจอไว้เสมอ
2. เก็บแค่ข้อมูลทั่วไปไว้ในมือถือ
วิธีที่จะช่วยรักษาความปลอดภัยให้ข้อมูลขององค์กรได้ คือควรเก็บไว้เพียงข้อมูลทั่วไป รายชื่อผู้ติดต่อ ข้อมูลที่ไม่ได้เป็นความลับขององค์กร และต้องพยายามไม่เก็บข้อมูลสำคัญ เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต หรือรหัสผ่านสำหรับเข้าใช้งาน M-Banking และ I-Banking ไว้ในมือถือหรือเครื่องมือสื่อสารอื่นๆ มากจนเกินไป รวมถึงควรใช้วิธีล็อกอินเข้าใช้งานระบบ M-Banking และ I-Banking ด้วยการเข้ารหัสและสแกนลายนิ้วมือ เพื่อช่วยเพิ่มความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
3. สำรองข้อมูลสำคัญไว้ในแหล่งที่ปลอดภัย
การสำรองข้อมูลสำคัญไว้ในระบบ Cloud Server ที่มีประสิทธิภาพและน่าเชื่อถือ เป็นระบบรักษาความปลอดภัยที่สำคัญ เมื่อใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือ เพราะหากเกิดเหตุที่ไม่คาดฝัน ถูกผู้ไม่ประสงค์ดีเข้าถึงแหล่งข้อมูลในโทรศัพท์มือถือได้ ก็จะได้รับเพียงข้อมูลทั่วไปเท่านั้น ซึ่งไม่สามารถสร้างความเสียหายต่อการดำเนินธุรกิจได้ รวมทั้งยังสามารถสำรองรายชื่อผู้ติดต่อไว้ ในกรณีที่โทรศัพท์สูญหายหรือชำรุด ก็จะสามารถกู้คืนข้อมูลเหล่านี้กลับมาได้
4. ไม่ต่อ Wifi หรือบลูทูธที่ไม่รู้จัก
อีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยรักษาความปลอดภัยเมื่อต้องใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือ คือหลีกเลี่ยงการเชื่อมต่อกับ Wifi หรือบลูทูธที่ไม่รู้จัก รวมถึงไม่เปิดการเชื่อมต่อ Wifi หรือบลูทูธทิ้งไว้ เมื่อไม่ได้ใช้งาน เนื่องจากมิจฉาชีพสามารถใช้เป็นช่องทางในการเจาะเข้าถึงแหล่งข้อมูลของมือถือ รวมถึงติดตั้งโปรแกรมไม่พึงประสงค์ที่จะดูดข้อมูลไปจากเครื่องมือสื่อสารขององค์กรได้
5. ไม่กดเปิดอีเมล ลิงก์ หรือข้อความที่น่าสงสัย
ความไม่ปลอดภัยในการใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือ หลายครั้งเกิดขึ้นจากผู้ใช้งานคลิกเปิดอีเมล ลิงก์ หรืออัปเดตโปรแกรมที่ส่งมายังช่องทางต่างๆ ทั้งจากความตั้งใจ หรือถูกล่อลวงให้กดเข้าไปยังลิงก์เหล่านั้น ซึ่งอาจเป็นเว็บไซต์ที่มีอันตราย หรือเป็นโปรแกรมที่สามารถสร้างความเสียหายให้แก่องค์กรได้
ดังนั้น ผู้ใช้งานจึงควรหลีกเลี่ยงการกดเปิดอีเมล ลิงก์ หรือข้อความที่น่าสงสัย และไม่ปรากฏแหล่งที่มาที่ไปชัดเจน
6. ติดตั้งโปรแกรมในโทรศัพท์มือถือเท่าที่จำเป็น
ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีโปรแกรมที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่คนทำงานอยู่มากมาย แต่ก็ควรเลือกดาวน์โหลดเฉพาะโปรแกรมที่จำเป็นจริงๆ เท่านั้น เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะเจอกับโปรแกรมที่ไม่พึงประสงค์ หรือต้องการขโมยข้อมูลจากมือถือได้ อีกทั้งควรดาวน์โหลดจากแหล่งที่มีการรับรองหรือเป็นของผู้พัฒนา เช่น Google Play Store สำหรับระบบปฏิบัติการ Android หรือ App Store สำหรับระบบปฏิบัติการ iOS เท่านั้น
7. อัปเดตระบบปฏิบัติการหรือโปรแกรม
ปกติแล้วเมื่อมีการดาวน์โหลดโปรแกรมต่างๆ มาใช้งานบนมือถือ นักพัฒนาจะมีการปรับปรุงโปรแกรมเหล่านั้น และจะมีการแจ้งอัปเดตโปรแกรมไปยังผู้ใช้งาน ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น อีเมลหรือผ่านระบบแจ้งเตือนของเครื่องมือสื่อสารเอง ซึ่งผู้ใช้งานควรอัปเดตระบบปฏิบัติการหรือโปรแกรมให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดอยู่เสมอ เพื่อให้การใช้งานมีประสิทธิภาพ มีเสถียรภาพ และมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
8. ติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยบนมือถือ
วิธีที่จะช่วยปกป้องข้อมูลสำคัญขององค์กรไว้ได้มากที่สุด คือการติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยบนมือถือ เพื่อที่เมื่อใช้อินเทอร์เน็ต โปรแกรมเหล่านี้จะทำหน้าที่คัดกรองความปลอดภัยของโปรแกรมและเว็บไซต์ต่างๆ รวมทั้งเป็นเกราะป้องกันไม่ให้มิจฉาชีพสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลสำคัญขององค์กรได้
เชื่อว่าหากผู้ประกอบการและพนักงานในองค์กรสามารถปฏิบัติตามเช็กลิสต์ทั้ง 8 ข้อนี้ได้อย่างครบถ้วน จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดข้อมูลรั่วไหล หรือถูกโจรกรรมข้อมูลสำคัญไปได้อย่างแน่นอน และผู้ประกอบการยังสามารถเสริมความปลอดภัยในการทำธุรกรรมและดำเนินธุรกิจผ่านระบบออนไลน์ได้ด้วย dtac Mobile Security บริการระบบรักษาความปลอดภัย เมื่อใช้อินเทอร์เน็ต เกราะป้องกันภัยจากโจรออนไลน์สำหรับ SME จาก dtac business
หากต้องการรายละเอียดหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ dtac business Customer Center โทร. 1431 กด 2 เรามีเจ้าหน้าที่พร้อมให้ความช่วยเหลือและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับโซลูชันที่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณ เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการใช้งานสูงสุด
ติดตามข่าวสารจาก dtac business ได้ตามลิงก์ด้านล่าง
Facebook : dtac businessYouTube Channel: dtac