dtac Mobile Security ระบบป้องกันไวรัสเมื่อใช้อินเทอร์เน็ต
ภัยคุกคามทางโลกออนไลน์ เป็นสิ่งที่สามารถเข้ามาทางช่องโหว่ของระบบอินเทอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์มือถือและแท็บเล็ตที่ไม่มีการป้องกันที่ดีพอ และเป็นสิ่งที่ควบคุมได้ยาก เนื่องจากเป็นภัยที่มาในหลายรูปแบบ แต่หากเกิดขึ้นอาจทำให้ข้อมูลที่สำคัญเกิดรั่วไหลได้ ซึ่งส่งผลกระทบถึงความปลอดภัยของระบบข้อมูลทั้งหมดในองค์กร โดยเฉพาะภาพรวมของธุรกิจที่กำลังดำเนินอยู่ ทำให้ความน่าเชื่อถือขององค์กรเกิดสั่นคลอนได้ ดังนั้นหลายองค์กรทั้งขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่จึงให้ความสำคัญกับการใช้ Mobile Security ระบบที่ปกป้องผู้ใช้งานจากภัยคุกคามทางไซเบอร์เป็นอันดับแรก ๆ วันนี้จะพาไปทำความรู้จักกับบริการระบบ Mobile Security ให้ลึกไปอีกขั้น และรู้ถึงข้อแตกต่างจากบริการแอนตี้ไวรัส พร้อมรู้จักภัยคุกคามโลกไซเบอร์ที่ควรระวังได้ที่นี่เลย
บริการ dtac Mobile Security คืออะไร?
บริการ dtac Mobile Security คือโซลูชันรักษาความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ต บนคลาวด์สำหรับองค์กร มีหน้าที่ช่วยปกป้องผู้ใช้งานจากภัยคุกคามทางโลกออนไลน์ รวมถึงไวรัสเครือข่ายไซเบอร์อย่าง ฟิชชิ่ง บ็อตเน็ต และมัลแวร์ ทำให้พนักงานในองค์กรสามารถใช้งานเชื่อมต่อกันได้อย่างปลอดภัยไม่ว่าจะทำงานจากที่ไหน ทั้งภายในออฟฟิศหรือนอกสำนักงานผ่านเครือข่ายมือถือ/เซลลูลาร์ โดยไม่ต้องพึ่งทีมงานไอที หรือติดตั้งซอฟต์แวร์เพิ่มเติมให้ยุ่งยาก
ยิ่งในปัจจุบัน ภัยคุกคามทางโลกไซเบอร์สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่บริษัทขนาดเล็กจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ ซึ่งหากเมื่อเกิดขึ้นแล้วเป็นสิ่งที่จะควบคุมได้ยาก ดังนั้นการป้องกันระบบข้อมูลสำคัญก่อนปัญหาจะเกิดขึ้น จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรให้ความใส่ใจสูงสุดในขณะนี้ ด้วยบริการ Mobile Security ระบบป้องกันไวรัส เมื่อใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือ มีหน้าที่ป้องกันการเข้าถึงเว็บไซต์ที่เป็นอันตรายผ่านโทรศัพท์ของคุณ จึงเป็นตัวเลือกที่ดีเพื่อป้องกันการใช้งานตั้งแต่ต้นทาง ไม่ให้ผู้ใช้งานเข้าสู่เว็บไซต์ที่มีความสุ่มเสี่ยงได้ เป็นการปิดล็อกภัยร้ายก่อนเข้าถึงข้อมูลสำคัญของบริษัทได้ดีที่สุดวิธีหนึ่ง อ่านข้อมูลพิ่มเติมได้ที่ : ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เบื้องต้น
ระบบ Antivirus Vs ระบบ Mobile Security มีข้อแตกต่างกันอย่างไร?
- การติดตั้งซอฟต์แวร์
Antivirus : เป็นโปรแกรมประเภทหนึ่งที่จำเป็นต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ก่อนใช้งาน โดยจะมีหน้าที่ช่วยป้องกัน ตรวจหา และกำจัดไวรัสที่จะเข้ามาทำลายโปรแกรมหรือข้อมูลสำคัญภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ เดสก์ท็อป แล็ปท็อป และมือถือที่ติดตั้งเท่านั้น
Mobile Security : เป็นระบบป้องกันไวรัสเมื่อใช้อินเทอร์เน็ตที่ไม่ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ ก็สามารถใช้งานได้ทันที โดยมีหน้าที่ปกป้องภัยคุกคามทางไซเบอร์ทั้งมือถือและแท็บเล็ตได้แบบเรียลไทม์ พร้อมมีการอัปเดตฐานข้อมูลของภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระบบ ทุก 1 ชั่วโมง
- ข้อจำกัดอุปกรณ์ปลายทาง
Antivirus : ซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัส จะช่วยปกป้องภัยคุกคามทางโลกไซเบอร์ โดยจำกัดเฉพาะอุปกรณ์ปลายทางที่อาจถูกบุกรุกเท่านั้น
Mobile Security : ผู้ใช้งานซิม dtac business สามารถใช้เปิดงาน dtac Mobile Security ผ่านอุปกรณ์ใด ๆ ก็ได้ที่ใช้เครือข่ายมือถือ/เซลลูลาร์ของ dtac โดยไม่ต้องคำนึงถึงสถานที่ ภายในอาณาเขตประเทศไทย
- ระดับการป้องกันฐานข้อมูล
Antivirus : สำหรับการเลือกใช้ระบบแอนตี้ไวรัสเวอร์ชันเริ่มต้น ต้องหมั่นสั่งสแกนไวรัสด้วยตนเองเป็นประจำเพื่อปกป้องข้อมูลไม่ให้ถูกโจมตีจากภัยไวรัสคุกคาม
Mobile Security : ระบบป้องกันไวรัสเมื่อใช้อินเทอร์เน็ตจะอัปเดตฐานข้อมูลไวรัสและสแปมใหม่ ๆ ในระบบทุก ๆ 1 ชั่วโมง เพื่อป้องกันผู้ใช้งานเข้าถึงเว็บไซต์อันตราย
รู้จักภัยคุกคามที่ dtac Mobile Security สามารถป้องกันได้
- ไวรัส : เป็นไฟล์ที่มีอันตราย มักจะถูกติดตั้งเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ เดสก์ท็อป แล็ปท็อป และมือถือ โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ใช้ ทำให้เครื่องอุปกรณ์เหล่านี้มีปัญหา เช่น ลบไฟล์ในระบบ เพิ่มจำนวน Copy ให้ฮาร์ดดิสก์เต็มเร็ว เป็นต้น
- โทรจัน : เป็นโปรแกรมขนาดเล็กที่สามารถติดตั้งตัวเองได้อัตโนมัติ มักแนบมากับอีเมลหรือโปรแกรมให้ดาวน์โหลดตามเว็บไซต์ที่มีความเสี่ยง มักจะซ่อนข้อมูลประจำตัวขโมยข้อมูลจากไฟล์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ (เช่น รหัสผ่าน ข้อมูลบัตรเครดิต) ดาวน์โหลดหรืออัปโหลดไฟล์ที่เป็นอันตรายอื่น ๆ สู่อุปกรณ์ รวมถึงเข้าแก้ไขและลบไฟล์สำคัญในเครื่องได้
- แรนซัมแวร์ : คือ มัลแวร์ หรือซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตรายประเภทหนึ่ง จะเก็บข้อมูลผู้ใช้หรือบริษัทแล้วทำการเข้ารหัสหรือล็อกไฟล์ ทำให้ผู้ใช้งานจะไม่สามารถเปิดไฟล์ใด ๆ ได้ ซึ่งเป็นการเรียกค่าไถ่เพื่อกำจัดมัลแวร์
- แอดแวร์ : เป็นแอปพลิเคชันหรือซอฟต์แวร์ ซึ่งหากคลิกเข้าไปจะแสดงเป็นโฆษณา หน้าต่าง Pop-Up กระพริบ แบนเนอร์ ในลิงก์ข้อความ และเล่นโฆษณาวิดีโออัตโนมัติในอุปกรณ์ของผู้ใช้งาน
- สปายแวร์ : เป็นซอฟต์แวร์อันตราย ซึ่งออกแบบมาเพื่อสังเกตและนำข้อมูลการบันทึกกิจกรรมทั้งหมด เช่น การโทร ข้อความ การเรียกดู ก่อนส่งไปยังแฮกเกอร์
- ฟิชชิง : เป็นภัยคุกคามทางไซเบอร์แบบเว็บลิงก์ในอีเมล SMS หรือที่อื่น ๆ ที่ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมการคลิกไปยังเว็บไซต์ที่เป็นอันตราย
ตัวอย่างอาชญากรรมภัยคุกคามโลกไซเบอร์ที่ควรระวังในปี 2022
- McDonald’s โดนแฮกข้อมูลติดต่อทางธุรกิจ
บริษัทอาหารฟาสต์ฟู้ดแบรนด์ใหญ่ของโลกอย่าง McDonald’s ถูกโจมตีจากแฮกเกอร์ ซึ่งเป็นภัยร้ายทางไซเบอร์ที่เข้ามาคุกคาม โดยล้วงข้อมูลสำคัญทางธุรกิจของแบรนด์ ทั้งฝั่งสหรัฐอเมริกาที่ได้ข้อมูลติดต่อทางธุรกิจของลูกค้าและแฟรนไชส์ และในฝั่งประเทศเกาหลีใต้และไต้หวัน ที่ได้ข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า เช่น ชื่อ อีเมล หมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่ รวมถึงข้อมูลส่วนตัวของพนักงานทั้งหมดไปอีกด้วย ทำให้ McDonald’s เล็งเห็นถึงความสำคัญของระบบป้องกันไวรัส เมื่อใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้น พร้อมลงทุนกับเครื่องมือป้องกันภัยคุกคามที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยข้อมูลในองค์กรมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
- โรงพยาบาล Valley View, Colorado ถูกแฮกเกอร์บุกรุกอีเมลส่วนตัวของพนักงาน
โรงพยาบาล Valley View ในสหรัฐอเมริกา ถูกภัยร้ายทางโลกไซเบอร์โดยการฟิชชิง ซึ่งแฮกเกอร์ได้ทำการฝังลิงก์อันตรายมากับอีเมลที่ถูกปลอมแปลงขึ้น และส่งอีเมลนี้ให้แก่พนักงานใน Valley View เพื่อให้แฮกเกอร์สามารถเข้าถึงบัญชีอีเมลและขโมยข้อมูลสำคัญ จนส่งผลกระทบต่อข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานในโรงพยาบาลและผู้ป่วยประมาณ 21,000 คนเลยทีเดียว ทำให้โรงพยาบาลตระหนักถึงระบบป้องกันไวรัสเมื่อใช้อินเทอร์เน็ตว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
จะเห็นได้ว่า ในปัจจุบันภัยคุกคามจากโลกไซเบอร์สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกองค์กร เครือข่าย dtac จึงเล็งเห็นความสำคัญ ด้วยการพัฒนาโซลูชัน dtac Mobile Security ที่สามารถช่วยปกป้องข้อมูลทางธุรกิจจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ด้วยการป้องกันไวรัสบนมือถือ และพร้อมที่จะรักษาความปลอดภัยในการใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือและแท็บเล็ตต่าง ๆ ให้ดีกว่าเดิม
หากคุณสนใจโซลูชัน dtac Mobile Security สำหรับองค์กรสามารถติดต่อได้ที่เบอร์ 1431 กด 1 ทีมงานของเราพร้อมให้คำปรึกษาและแนะนำแพ็กเกจที่เหมาะสมกับองค์กรของคุณ
ติดตามข่าวสารจาก dtac business ได้ตามลิงก์ด้านล่าง
- Facebook: dtac business
- YouTube Channel: dtac